Monday, June 14, 2010

ULANG TAHUN MENDIANG BEKAS KETUA SAMI WAT MACCHIMAPRASIT KALI KE LIMA. งานประจำปี ครั้งที่ ๕

งานบุญพ่อท่านแสง พ่อท่านทิ่น ประจำปีครั้งที่ ๕.
เมื่อวันเสาร์ ที่ 13 มีนาคม, วันอาทิตย์ ที่ 14 มีานคม
และ วันจันทร์ ที่ 15 มีานคม 2553.
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
Sambutan Ulang Tahun Mendiang Bekas Ketua
Wat Macchimaprasit kali yang ke 5..
pada Sabtu 13 March, Ahad 14 March dan
Isnin 15 March 2010.
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
พิธีเทเสาเอกศาลาเอนกประสงหลังใหม่ในวันที่ 14 มีานคม 2553.
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
Upacara membina tiang utama bangunan serbaguna
Wat Jawi pada 14 March 2010 , oleh Ketau Sami
Kedah/Perlis.
~~~~~~~~~~





















~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
พิธีรดน้ำสงฆ์ พ่อท่านแสง พ่อท่านทิ่น เมื่อวันอาทิตย์
ที่ 15 มีนาคม 2553.
โดย
พระครูโอภาสประสิทธิคุณ (เจ้าอาวาส)
และ คณะพระสงฆ์วัดยาหวี และคณะพระสงฆ์วัดอื่น ๆ.
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
Upacara menyiram air mawar pada patung
Mendiang Bekas Ketua Wat Macchimaprasit
oleh
Phrak Khru OPASPRASITTHIKHUN
( Ketua Wat )
bersama sami wat Kedah/Perlis.
~~~~~~~~~~~~~










~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

Sunday, June 13, 2010

Bekas Ketua Sami อดิตเจ้าอาวัส ( กวีธรรม )

หลวงพ่อแสง
------------------------------------------
หลวงพ่อทิ่น

กวีธรรม
-----------
เหมื่อนดั่งแก่นแท้ ของพระพุทธศาสนา
ไม่ว่ากาลเวลาจะหมุนเวียน เปลี่ยนไปแค่ไหน
แก่นแท้ของศาสนา ก็ยังคงอยู่สูงค่าเสมอ
อยู่ที่มนุษย์เราต่างหาก ว่าจะมองเห็นหรือไม่...
พูดคำหยาบ จาบจ้วงไป ใยต้องด่า
อันตัวข้า หนากิเลส เหตุพาไป
มันไม่เห็นธรรมเอก ผุดขึ้นมาภายใน
กล่าวไปใยจะเห็นธรรม เห็น พระองค์
--
ธรรมอันเอก ผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
มีอยู่ใน ใจเป็นฌาณทุกขั้นชั้น
แต่พวกมัน ไม่หันมอง คุณของฌาณ
ยังอีกนาน แสนนาน กว่าจะถึง
หนึ่ง(1)..........................อปุปิจุฉกถา
-
ความมักน้อย ในปัจจัย ที่ได้พบ
ปัจจัยสี่ ที่ประสบ ควรสิกขา
ทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม บ่มกายา
อปุปิจุฉกถา เป็นวาจา สนทนากัน
--
ทรงตรัสไว้ ภิกษุได ที่มักน้อย
ความเสื่อมถอย อกุศล ดลสู่สัมม์
เป็นบ่อเกิด กำเนิด กุศลธรรม
ความครอบงำ แห่งอกุสลา มาสิ้นไป....
สอง(2)..............................สนุตุฏุฐิกถา
-
ความสันโดษ มากประโยชน์ ไร่โทษแน่
จิตมุ่งแต่ ความพอเพียง เลี่ยงตัณหา
สันโดษใน ปัจจัยสี่ ที่มีมา
สนุตุฏุฐิกถา พาพ้นกาม
--
สันโดษใน เรื่องอาหาร แห่งการกิน
ไม่ถวิล ฟุ้งเฟ้อไป ไห้เข็ดขาม
ทั้งเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เคยบ่มกาม
ถิ่นอาศัย ในเขตคาม ใช้ตามมี
--
เพราะจิตที่ ประกอบด้วยศิลขันธ์
สติมั่น สำรวมกาย ไม่สิ้นศรี
สัมปชัญญ์มั่น สังวรไว้ ในอินทรีย์
กถาวาที สิ่งที่สอง โปรดตรองดู....
สาม(3)...................................ปวิเวกุกถา
-
คำพูดที่สาม ที่ควรกล่าว น่าดำริ
วิเวก กาย จิต อุปธิ น่าสิกขา
วิเวกสาม ความสงัด ขจัดกามา
ปวิเวกุกถา ตามศึกษา เป็นอย่างไร
--
กายวิเวก สงัดกาย คลายอภิชฌา
อยู่ตามป่า ซอกเขา เงาโดนไม้
ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏร้าง กลางพงไพร
นั่ง ยืน เดิน อยู่ใน ไม่ไกลฌาน.....
สี่(4)................................อสงุสคุคกถา
-
ผู้ที่ชอบ คลุกคลีนั้น ธรรมตรัสไร้
มิพึงได้ สุขเนกขัมม์ นั้นหรอกหนา
ความสงบ ความสงัด แห่งจินตนา
จักเกิดได้ ตัดมรรคา ความคลุกคลี
--
ภิกษุใด ปรารภ ใคร่พบสุข
ทำที่สุด แห่งทุกข์ อย่างเต็มที่
ย่อมปลีกอยู่ แต่ผู้เดียว อย่างเสรี
ไม่คลุกคลี ในหมู่ ศัตรูพรหมจรรย์
--
ทรงตรัสไว้ ผู้ได ไม่คลุกคลี
ฐานะที่ บรรลุธรรม ล้ำสุขสันต์
เจโตวิมุตติ ได้ประสบ พบโดยพลัน
เอนกอนันต์ คุณของการ ไม่คลุกคลี
--
และนี่คือ คำพูด คือกถา
จะน้อมนำ ปัญญา สู่จิตนี่
กล่าวในความ เรื่องไม่ เข้าคลุกคลี
อสงุสคุคกถา ...ที่สี่ ควรพูดกัน...
----------------------------------------------